โยคีเพลย์บอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Second Sun)
โยคีเพลย์บอย (Yokee Playboy)
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป, ร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, โซล
ช่วงปี2539 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเบเกอรี่ มิวสิก, อาร์เอส, เพลนตี้ มิวสิก, สไปซีดิสก์
สมาชิกปิยะ ศาสตรวาหา
ฆ้อง มงคล
เฟาซี มามะ
ญานสิทธิ์ ศรีศศิวิไล
สุทัศน์ เพชรมี
พิทยา ศิริสวัสดิ์
อดีตสมาชิกภาณุ กันตะบุตร
ยิ่งใหญ่ หุณชนะเสวีย์
อาณัติ ทองก้อน
อดุลย์ รัชดาภิสิทธิ์
เว็บไซต์www.spicydisc.com www.facebook.com/YKPBPage

โยคีเพลย์บอย (Yokee Playboy) ถือศิลปินกลุ่มในยุคแรก ๆ ของสังกัดเบเกอรี่มิวสิค มีนักร้องนำคือ โป้ - ปิยะ ศาสตรวาหา ออกอัลบั้มชุดแรกในชื่อเดียวกับวง โยคีเพลย์บอยส์ ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนที่วงจะยุบไป เหลือเพียงโป้คนเดียวในเวลาต่อมา มีผลงานที่เป็นที่รู้จักได้แก่ วันเกิด พรหมลิขิต ทำร้าย แผลเป็น คืนนี้ขอหอม อีกแล้ว และอยากมองเธอในแง่ร้าย ปัจจุบันโยคีเพลย์บอย นำโดย โป้ และมีเพื่อน ๆ นักดนตรี ยังคงผลิตงานเพลงอย่างต่อเนื่องในฐานะ ศิลปินอิสระ

ประวัติ[แก้]

เดิมเป็นมือเบสให้กับอรอรีย์ หลังจาดนั้นก็ออกมาทำวง โยคีเพลย์บอย
อัลบั้มชุดแรก โยคีเพลย์บอยส์ (2539)

ในอัลบั้มชุดนี้จะมีแนวดนตรีที่ผสมผสาน ร็อค, โซล, ฟังก์ โดยบางเพลงเองก็เน้นเนื้อหาตลก ยังไม่มีผลงานเพลงที่เป็นที่รู้จักมากนักและยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างสำหรับอัลบั้มชุดนี้ กลิ่นอายดนตรี 70’s แนวอินดี้ป็อป จากอัลบั้มชุดนี้ ทำให้ "โป้" ปิยะ ศาสตรวาหา กลายเป็นขวัญใจหนุ่มสาวด้วยลีลาการเต้น

อีพี อัลบั้ม Super Swinging (2541)

โยคีกลับมาอีกครั้งหลังห่างหายไปถึง 2 ปี โดยอัลบั้มชุดนี้เหลือโป้ โยคี ปีซึ่งเพลงมีแนวดนตรีที่แตกต่างจากชุดแรกและแหวกแนวดนตรีในยุคสมัยนั้น ด้วยลูกเล่นและแนวดนตรีที่มีกลิ่นของ ดิสโก้ และ Groove แต่ยังคงรักษาความเป็นโยคีเพลย์บอยไว้ได้อย่างชัดเจน ชุดนี้มีเพลง 5 เพียงแต่ทุกเพลงก็มีแนวทางที่แตกต่างกันออกมาไป มีเพลงอันเป็นที่รู้จัก คืนนี้ขอหอม

อัลบั้มชุดที่ 2 YKPB, เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง (2543)

โยคีกลับมาอีกครั้งหลังห่างไป 2 ปี ในอัลบั้มนี้มีผลงานแนว ป็อป ผสม โซล และ ริทึมแอนด์บลูส์ มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก วันเกิด พรหมลิขิต (ของครูแก้ว อัจฉริยะกุล และ ครูเวส สุนทราจามร) ทำร้าย แผลเป็น และ ขอให้ผม ส่งผลให้โยคีเพลย์บอยเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากอัลบั้มชุดนี้[1]

อัลบั้มสาม Love Trend (2545)

อัลบั้มชุดนี้โยคีได้กลับมาอีกครั้งหลังห่างหายไปถึงสองปีโดยชุดนี้จะมีดนตรีที่เบากว่าชุดที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้บอยตรัยมาช่วยเขียนเพลง โดยแต่ละผลงานเพลงจะเป็นแนวบรรเลงและแนวดนตรี ซอฟต์ร็อก มีผลงานเพลงที่เป็นที่รุ้จักในอัลบั้มนี้คือเพลง อีกแล้ว และอยากมองเธอในแง่ร้าย[2]

ย้ายสังกัดอาร์เอส, ออกอัลบั้มชุดที่สี่ (2551)

ในปี 2551 โป้ได้มาร่วมงานกับอดีตผู้ก่อตั้งค่าย เบเกอรี่มิวสิค สมเกียรติ อริชัยพาณิชย์ ภายใต้สังกัด เพลนตี้ มิวสิก ในเครือ อาร์เอส ออกอัลบั้มชุดที่สี่ Telepathy ซึ่งเป็นผลงานทางดนตรีและผสมผสานกับความปราณีตพิถีพิถันในการเรียบเรียง อัลบั้มนี้ไม่ได้รับการโปรโมทที่ดีนักจึงไม่ได้รับการรู้จักในวงกว้าง

ย้ายไปสไปซี่ดิสก์, ออกอัลบั้มฉลองครบรอบ 16 ปี (2554 - 2555)

ปี 2554 โยคีเพลย์บอยย้ายสังกัดมายัง สไปซีดิสก์ ซึ่งได้ปล่อยซิงเกิ้ลแรก คอลลาเจน และ ซิงเกิ้ลที่สอง อากาศ ก่อนที่ในปีต่อมาโยคีได้ออกอัลบั้ม Second Sun ฉลองครบ 16 ปีของทางวง[3] เป็นอัลบั้มที่อัดแน่นด้วยรายละเอียดของดนตรี เนื้อหา

เริ่มออกซิงเกิล และอัลบั้ม ในฐานะ ศิลปินอิสระ (2557-บัจจุบัน)

เดินหน้าแสวงหา และผลิตเพลงที่มีพัฒนาการกับแนวดนตรีที่แตกต่างตามความสนใจและยุคสมัย

อีพี ซิงเกิล เพลง "อาฮะ" และ เพลง "มี" (2557)

ครั้งแรกกับการทำงานอิสระ เพลงจึงอาจจะไม่เป็นที่รู้จักนัก เมื่อขาดแรงโปรโมทที่มากเพียงพอ อาฮะ เป็นเพลงสนุกสนาน เบา ๆ แบบสโลว์ ดิสโก้ (slow disco) ที่โป้ เลือกชวนศิลปินรุ่นน้องที่มีเสียงร้องและบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง แจ๊บ เดอะ ริชแมนทอย มาร่วมขับร้อง มี เป็น เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก  ซึ้ง ๆ น่ารัก ๆ  ซึ่งถูกถ่ายทอดบนท่วงทำนองและจังหวะช้าแบบเท่ ๆ สไตล์เพลงป๊อบที่มีลูกกรูฟ หรือ Groove Pop  

อัลบั้มที่หก We (2560) โดยทะยอยออกมาทีละ episode

- อีพี อัลบั้ม We Episode I (2560) ทั้งหมด 3 เพลง ในแนว Soul Pop และ Post Modern Rock แบบไทย ๆ แหวกสมัยด้วยชื่อเพลงยาวเหยียด ได้แก่ เพลง นอนคนเดียว กินคนเดียว ดูทีวีคนเดียว เพลง เธอรู้ไหมฉันไม่ชอบเวลาเธอพูดถึงเขา และ รักรอที่ฟลอร์เต้นรำ ซึ่งถือว่าครั้งนี้โยคีเพลย์บอยสามารถเรียกกระแสการตอบรับกลับมาได้มากพอสมควร และกลับมามีเพลงฮิตติดชาร์ตอีกครั้ง

ผลงาน[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

  • Yokee Playboys (พ.ศ. 2539)
    1. อยู่มานาน
    2. ไม้
    3. ทางแยก
    4. พระจันทร์วันนี้
    5. ความจริง
    6. รามซิงค์ เรดิโอ
    7. วิก
    8. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
    9. ตอนนี้
    10. ฉันคล้ายเขาใช่ไหม
    11. คำตอบ
  • YKPB (พ.ศ. 2543)
    1. วันเกิด (Birthday)
    2. พรหมลิขิต (Destiny)
    3. เปลี่ยนไปแล้ว (Changed)
    4. สวย (Beautiful)
    5. ทำร้าย (Abuse)
    6. 4.00 a.m.
    7. คำที่เป็นสุข
    8. แผลเป็น
    9. ขอให้ผม (Give It To Me)
    10. ดื้อ (Stubborn)
    11. ใจน้อย
    12. ทำร้าย (Soul Version)
  • Love Trend (พ.ศ. 2545)
    1. สบายสไตล์
    2. อีกแล้ว
    3. โสด
    4. Crusin
    5. ระบาย
    6. เติบโต
    7. อยากมองเธอ...ในแง่ร้าย
    8. อธิบาย
    9. เพื่อนใหม่
    10. รสนิยม
  • Telepathy (พ.ศ. 2552)
    1. ในเพลงหนึ่ง
    2. ถ้าบนฟ้ามีดาวเป็นร้อยเป็นพัน
    3. ต่อให้ต้องนอกใจ
    4. ใกล้กับไกล
    5. ภาพเธอ
    6. คนเดียว
    7. Every Day, Every Night
  • Second Sun (พ.ศ. 2555)
    1. Kung Fu Fighting
    2. Back Door
    3. Love Control
    4. Breathe
    5. Collagen
    6. Desert
    7. You Make Me Love
    8. Goal Heart Soul

อีพีและซิงเกิล[แก้]

  • Super Swinging (พ.ศ. 2541)
    1. ยิง
    2. ลำพัง
    3. ข้างเดียว
    4. คืนนี้...ขอหอม
    5. ท.ท.ท.
  • อัลบั้มรวมเพลง "The Grandfather Greatest Hits"
  • อัลบั้มรวมเพลง "The Grandfather Greatest Hits - The Conclusive Collection Volume 4"

ผลงานอื่น[แก้]

  • 2538 "ทางออก" จากอัลบั้ม Zequence ร่วมกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ (เป็นเพลงประกอบละคร ไอ้คุณผี)
  • 2539 "I'm Free" และ "เที่ยงคืน" จากอัลบั้ม Simplified ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์
  • 2540 "โปรดเถอะ" แต่งโดยบอย โกสิยพงษ์ เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง เก็บใจไว้เพื่อรัก ร้องร่วมกับ รัดเกล้า อามระดิษ
  • 2540 "คนที่เดินผ่าน" จากอัลบั้ม Bakery On Vacation ร่วมกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์
  • 2540 "ฝัน" จากอัลบั้ม Rare Grooves 2
  • 2543 "UHF" จากอัลบั้ม Return To Retro ร่วมกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์
  • 2543 "ช่วงชีวิต" จากอัลบั้มBakery Y2Gether ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์
  • 2543 "ทำร้าย" เพลงประกอบละครเรื่อง แม่น้ำ จากอัลบั้ม YKPB
  • 2544 อัลบั้ม "Time Machine" และ “The Last show on their Playground” ในนามวง ทูเดย์ส อะโกคิดส์
  • 2547 "กาแฟ" จากอัลบั้ม Singing in the Playground
  • 2547 "เท่ากับที่เดิม" จากอัลบั้ม Love is 1
  • 2548 A DAY Album 4 – เพลง โดย โยคีเพลย์บอย (แต่งร่วมกับบอย ตรัย)
  • 2549 แสดงภาพยนตร์เรื่อง เก๋า เก๋า กำกับโดย วิทยา ทองอยู่ยง แสดงเป็น โบ้ มือกีตาร์ วง Possible โดยมี โจอี้ บอย แสดงเป็น ต๋อย นักร้องนำ
  • 2550 “มันอยู่ที่จังหวะ” (Up To The Beatz) จากอัลบั้ม My Name is DOS ร่วมกับ Cyndi Seui
  • 2551 “รักติ๋มคนเดียว” เพลงเอกในภาพยนตร์ของผู้กำกับยุทธเลิศ สิปปภาคเรื่อง “อีติ๋มตายแน่” เรียบเรียงใหม่ในนามโยคีเพลย์บอย จากเพลง “ไม่เคยรักใครเท่าติ๋ม” แต่งโดย ชลธี ธารทอง ขับร้องโดย สายัณห์ สัญญา
  • 2554 “Morning Moon” ของฟักกลิ้งฮีโร่ (ร่วมแต่งและร้อง) เป็นเพลงหลักของคอนเสิร์ตเทศกาลงาน SAD
  • 2566 "ทำร้าย" เพลงประกอบละครเรื่อง โชกุน

อ้างอิง[แก้]